ข้อคิด การสื่อสารระหว่างพ่อแม่ลูก

article

การสื่อสารระหว่างพ่อแม่ กับลูก อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่จะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งเป็นการบ่มเพาะคุณลักษณะนิสัย และเสริมสร้างทัศนคติในการดำเนินชีวิตของเด็กต่อไปในอนาคตด้วย เราจะพบเห็นได้บ่อย ว่าผู้ใหญ่บางคนใช้ชีวิต หรือถูกจำกัดในการดำเนินชีวิตอยู่ภายใต้คำพูดไม่กี่คำที่พ่อแม่เคยพูดกับเขาในวัยเด็ก เป็นต้น ข้อคิดดังต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์ในการสื่อสารกับลูกเพื่อความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว และสร้างทักษะการดำเนินชีวิตของพวกเขาในอนาคต

 

1. หมั่นสังเกตความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ในคำพูดของเด็ก 

ไม่ว่าจะเป็น คำถาม คำพูด คำบ่น ของลูก มักจะมีความรู้สึกของเขาแฝงอยู่ สิ่งที่พ่อกับแม่ทำได้คือ การเข้าถึงความหมายที่ลึกซึ้งในคำถามของเขา การแสดงความเข้าอกเข้าใจและยอมรับในความรู้สึกที่ปรากฏในคำพูดของเขา นอกจากนี้ การที่พ่อแม่พูดเพื่อสะท้อนความรู้สึกของลูก โดยการสร้างคำพูดของลูกขึ้นมาใหม่โดยเน้นความรู้สึกของเขา จะช่วยให้เด็กรู้สึกว่าได้รับการรับฟัง ได้ดียิ่งขึ้น

  • หนูไม่อยากไปโรงเรียนพ่อแม่อาจค่อย พูด ดังนี้ลูกรัก พ่อเข้าใจว่าลูกรู้สึกไม่อยากไปโรงเรียนวันนี้ ไม่เป็นไรนะลูก ลูกพอจะบอกได้ไหมว่าอะไรทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน มีอะไรที่ทำให้ลูกรู้สึกแบบนั้นเหรอ ไหนเราลองมาคุยกันดีไหม ว่าจะทำอย่างไรให้มันดีขึ้น จำได้ไหมว่าที่โรงเรียนหนูได้เล่นของเล่นสนุกมากเลย ที่โรงเรียนมีเพื่อน คอยวิ่งเล่นด้วยกันด้วยนะ เดี๋ยววันนี้ลองไปพยายามไปโรงเรียนดูก่อนแล้วดูว่าเป็นอย่างไร แล้วเรามาคุยกันอีกทีหลังจากกลับจากโรงเรียน หาทางเลือกอื่น เพื่อช่วยให้การไปโรงเรียนง่ายขึ้นการแสดงความห่วงใยในความรู้สึกของเด็ก และพูดคุยหาทางออกร่วมกัน ทำให้เด็กผ่อนคลายและรู้สึกในทางบวกเกี่ยวกับการไปโรงเรียน

 

2. การสื่อสารที่เน้นความสัมพันธ์ มากกว่าเน้นไปที่เหตุการณ์ 

สามารถทำได้ในหลายรูปแบบ ได้แก่ การตอบสนองต่อความรู้สึกมากกว่าการกระทำ การตอบสนองต่อความรู้สึกด้วยความเข้าอกเข้าใจ ไม่มุ่งเน้นไปที่การสอน และการจัดการกับความรู้สึกของเด็กก่อน มากกว่าการเริ่มจัดการกับพฤติกรรมในทันที

  • เด็กอายุ แปดปี มีท่าทางโกรธลูกดูโมโหมาก ลูกจะบอกได้ไหมว่าเกิดอะไรขึ้น”, “คุณครูทำกระดาษผลงานของหนูขาด”, “คุณครูทำกระดาษหนูขาด เลยทำให้หนูรู้สึกโมโหมากเลยใช่ไหมคุณแม่เลือกที่จะรับรู้อารมณ์ของลูกพร้อมกับไม่ใส่เรื่องราวเพิ่ม หรือหาสาเหตุ หรือสรุปหาคนถูกผิดใด หรือถามคำถามเพิ่มเติม เพราะลูกกำลังต้องการให้คุณแม่คุยกับลูกด้วยความเข้าอกเข้าใจและเห็นใจ และช่วยบรรเทาความโกรธของเขาเอง

 

3. การรับฟัง และเคารพความรู้สึก 

ให้ยอมรับและตอบรับความรู้สึกที่ถูกสื่อสารออกมา รวมทั้งการชื่นชม ความพยายามแก้ไขปัญหาของเด็ก

  • ความรู้สึกรุนแรงไม่สามารถถูกลบเลือนหายไปได้โดยง่าย โดยการพูดให้หายหรือหมดไป เช่นการพูดว่าเลิกร้องไห้ได้แล้ว”, “ไม่มีเหตุผลที่โกรธเลยเป็นต้น แต่ความรู้สึกดังกล่าวจะบรรเทาลงได้ก็ต่อเมื่อผู้ฟังยอมรับมันด้วยความเห็นใจและเข้าใจ

 

4. การเป็นกระจกสะท้อนอารมณ์ 

การพูดสะท้อนความรู้สึกของเด็ก จะช่วยทำให้เขาเข้าใจตัวเองได้มากขึ้น

  • ลูกกำลังรู้สึกโกรธมากเลยสินะ” , “ลูกเลยรู้สึกไม่ชอบคุณครูตอนนั้นใช่ไหม” , “มันทำให้ลูกเสียใจมากเลยใช่ไหม” , “วันนี้เป็นวันที่แย่ เลยใช่ไหม”  เป็นต้น

 

5. กฎสำคัญของการใช้คำพูดเชิงบวก 

คือ การชมเชยด้านความสำเร็จและความพยายาม ไม่ได้ชมเชยด้านบุคลิกลักษณะของเขา

  • ก่อนหน้านี้ ห้องนั่งเล่นรกมากเลย ตอนนี้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่คิดเลยว่าลูกจะทำได้เสร็จภายในหนึ่งวัน” ... “เก็บของเข้าที่เข้าทาง ลูกมีความพยายามมากเลยจ๊ะ
  • ลูกเก่งที่สุด”,“ลูกเป็นผู้ช่วยตัวน้อยของแม่” , “ไม่มีหนูแล้วแม่จะเก็บห้องยังไงเป็นคำชมที่ไม่เป็นประโยชน์ ลูกอาจเป็นกังวลที่รู้สึกว่าไม่ได้เป็นตามที่แม่คาดหวัง หรืออาจสงสัยในตัวเองซึ่งไม่เป็นประโยชน์ต่อความภูมิใจในตัวเอง

 

6. การชมที่เป็นประโยชน์จะเกิดเป็นบทสรุปเชิงบวก ขึ้นในใจเด็ก

  • ขอบคุณลูกมาก ที่ช่วยแม่พับผ้าปูที่นอนเป็นคำชมที่มีประโยชน์ เพราะเด็กอาจเกิดความรู้สึกในใจกับตนเองว่าฉันมีความรับผิดชอบส่วนคำชมที่ไม่มีประโยชน์เช่นลูกพับผ้าเก่งที่สุดไม่เกิดประโยชน์เพราะเด็กอาจไม่ได้คิดแบบนั้น

 

7. จงให้คำแนะนำแก่เด็ก มากกว่าคำตำหนิ 

ในกรณีเกิดเรื่องผิดพลาดขึ้น จะไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมในการสอน วิธีที่ดีที่สุดคือการจัดการกับเหตุการณ์ ไม่ใช่จัดการกับตัวบุคคล

  • ลูกทำน้ำหกโดยไม่ตั้งใจ แม่กล่าวอย่างใจเย็นว่าน้ำหกแล้ว เราไปเทน้ำแก้วใหม่กันเถอะ แล้วไปเอาผ้ามาเช็ดด้วยการพูดว่ากล่าวตักเตือนเช่นซุ่มซ่ามจริง” , “คราวหน้าต้องระวังหน่อยนะไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นแต่อย่างใด

 

8. คำพูดเชิงลบ ทำร้ายลูกเรา 

รวมถึงการตราหน้าทางลบต่าง เมื่อเราต่อว่าต่อขานเด็ก ว่าเขาน่าเกลียด อ้วน โง่ ซุ่มซ่าม ตัวดำ ฯลฯ เด็กจะมีปฏิกิริยาทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะเด็กเล็ก จะเชื่อในคำพูดที่พ่อแม่พูด ว่าเขาคือใครและเป็นอย่างไร เขาอาจสูญเสียความรู้สึกดีต่อตัวเองได้

  • เธอเหมือนแม่ไม่มีผิด กินเยอะ ชอบทำอะไรตามใจตัวเอง”, “เจ้าอ้วน”, “เจ้าช่างพูดเป็นคำพูดที่ไม่ควรพูด หรือเด็กคนนี้เอาเวลาฉันไปหมด มีแต่ปัญหา รับผิดชอบอะไรก็ไม่ได้เลยเป็นต้น

 

9. การแสดงอารมณ์โกรธของพ่อแม่ 

พ่อแม่มีสิทธิในการแสดงความรู้สึกโกรธออกมาได้ เพราะเป็นอารมณ์ตามธรรมชาติ แต่ควรเป็นไปในลักษณะที่ตัวเองได้รับการปลดปล่อย และเด็กได้ข้อคิดอะไรบางอย่าง โดยที่ไม่มีผลกระทบรุนแรงต่อทั้งตัวเด็กและตัวพ่อแม่เอง นอกจากนี้เด็กควรเรียนรู้ถึงความโกรธของพ่อแม่ด้วย (ไม่จำเป็นต้องให้เขาเรียนรู้ความรุนแรงของอารมณ์ผู้ใหญ่) เพียงให้เข้าใจว่าความอดทนของพ่อแม่ก็มีขีดจำกัด

  • พ่อโกรธมากที่ลูกตีน้อง พ่อรู้สึกโกรธจนตัวเป็นสีแดง และพ่อจะไม่ยอมให้ลูกทำร้ายน้องนะหรือแม่โกรธ ที่เรียกให้ลูกมากินข้าวแล้วยังไม่มา แม่ยังไม่อยากอารมณ์เสียตอนกินข้าวนะเป็นต้น

 

10. การตราหน้าทางบวก ก็เป็นผลเสียเช่นกัน 

เพราะเด็กอาจเกิดความรู้สึกไม่เห็นด้วย และถูกกดดันต่อการประเมินคุณลักษณะโดยผู้ใหญ่ ก็เป็นได้

  • ลูกเก่งที่สุด” “ลูกหน้าตาดีที่สุดทำให้เด็กเขิน หรือทำตัวไม่ถูก ก็เป็นได้ เพราะไม่มีใครสามารถตอบสนองต่อคำชมเชยประเภทประเมินค่าบุคลิก หรือลักษณะทางกาย ทางใจ ได้อย่างดีเพราะไม่ว่าจะเป็นใคร ก็ไม่ชอบที่จะถูกประเมินผล

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
  • Ginott, Haim G. "Between Parent and Child." Avon Books, 1965. Ginott’s work emphasizes the importance of empathetic and respectful communication between parents and children, promoting positive interactions that support emotional growth. (วิธีพูดกับลูก ฉบับแปลและเรียบเรียงโดย ภรณี ภูรีสิทธิ์)